บทที่ 9 เทคนิคการขาย

 9.1ความหมายของเทคนิคการขาย
      เทคนิคการขาย (Selling Technique) คือ วิธีการขายที่พนักงานขาย ใช้ความสามารถส่วนตัวหรือใช้ศิลปะในการชนะใจลูกค้า โดยให้ความรู้สึกว่าลูกค้านั้นมีความสำคัญต่อผู้ขายมาก ให้ความชื่นชม ให้ความนับถือและให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้าให้มากที่สุด พนักงานขายที่ประสบความสำเร็จในอาชีพขายมีวิธีการใช้เทคนิคแตกต่างกันเช่น
- ความสามารถในการจำชื่อลูกค้าได้แม่นยำแสดงให้เห็นว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญและถือเป็นการให้เกียรติยกย่องด้วย
- ความสามารถในการเลือกคำพูดที่สั้นกะทัดรัด เหมาสะ เช่น ไม่รวยก็สวยได้จิ๋วแต่แจ๋ว ฯลฯ
- ให้ลูกค้าทดลองฟรี ซื้อไปแล้วไม่ชอบใจเอามาคืนหรือเปลี่ยนเป็นสินค้าชนิดอื่นได้เหมาะกับสินค้าออกใหม่
- ความสามารถในการทำให้ความฝันของลูกค้ากลายเป็นความจริงได้ เช่น อยากมีบ้าน อยากมีรถ ฯลฯ
- หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ทำให้เกิดภาพลบ เช่น
“ผมไม่แน่ใจว่า เรื่องนี้จะพอใจคุณหรือเปล่า”
“ผมคิดว่าคุณคงไม่ไปให้เจ้าอื่นเขาหลอกนะครับ”
“ถ้าคุณไม่คิดให้ลึกคุณคงไม่ซื้อของยี่ห้อนี้”
ฯลฯ
9.2ความสำคัญของเทคนิคการขาย  
      วิชาการขายเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ ดังนั้น ศิลปะการขาย จึงหมายถึง การมีศิลปะในการเกลี้ยกล่อม จูงใจให้คนอื่นเห็นด้วยกับความคิดของเรา โดยเขาได้รับความพึงพอใจหรือประโยชน์จากการกระทำนั้น และเราได้กำไรเป็นการตอบแทน
                           
                             การเช่าวัตถุมงคลในวัดต่าง ๆ
                   ดังนั้น จึงสรุปนิยามของคำว่า   การขาย ( Selling )   ได้ว่า เป็นกระบวนการในการชักจูง
จูงใจ หรือกระตุ้นให้บุคคลที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าเกิดความต้องการหรือยอมรับในสินค้า บริการ หรือความคิดของตน โดยจะดำเนินการโดยบุคคลหรือไม่ก็ตาม แล้วส่งผลให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการ หรือยอมรับในความคิดนั้น ๆ ผู้ขายก็จะได้รับผลประโยชน์ทางการค้า  
                   คนเราทุกคน ไม่ว่าอาชีพอะไร ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสิ้นลมหายใจล้วนเป็นคนขายของทั้งสิ้น เพราะไม่ว่าจะเรียนจบหลักสูตรใด ทุกคน(ผู้ขาย) ต้องนำความรู้ความสามารถ(สินค้า) ที่ได้เล่าเรียนมาไปขายให้แก่ผู้ที่มีความต้องการ (นายจ้างหรือผู้ซื้อ)   ผลตอบแทนที่ผู้ขายได้รับคือค่าจ้าง     เงินเดือน   ส่วนผู้ซื้อได้รับผลตอบแทน คือ ผลงานของผู้ขาย
 9.3กระบวนการขาย
      กระบวนการขาย  หมายถึงเทคนิคหรือกลวิธีหนึ่งของงานขาย  ที่จะต้องมีการวางแผน  
ดำเนินการ ตามขั้นตอนต่างๆ
      เทคนิคการเสนอขายที่ดี ประกอบด้วยกระบวนการขาย 7 ขั้นตอน
      1. การแสวงหาลูกค้า      สามารถจำแนกลูกค้า ได้ 3 ประเภท                                                             ลูกค้าคาดหวังไม่ซื้อ   ลูกค้าอยู่ในข่ายสงสัย   ลูกค้าคาดหวังแท้จริง
          วิธีการแสวงหาลูกค้าที่พนักงานขายสามารถเลือกใช้ มีหลายวิธีการ เช่น
1. วิธีโซ่ไม่มีปลาย   ( Endless  Chain  Method )
2. วิธีใช้ศูนย์อิทธิพล  ( Center of  Influence  Method )
3. วิธีการสังเกตส่วนตัว ( Personal  Observation )
4. วิธีการตระเวนหาลูกค้า ( Cold  Canvassing )
5. วิธีใช้พนักงานขายใหม่  ( Junior  Salesman and  Bird Dogs )
6. วิธีการจัดแสดงสินค้า    ( Trade  Fair )
7. วิธีการใช้จดหมายและโทรศัพท์ ( Mail  and  Telephone )  
      2. การเตรียมตัวก่อนเข้าพบลูกค้า                                                                                                       1.ความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
2.ความศรัทธาในตัวเองและกิจการ
3.เตรียมวัตถุประสงค์ในการเข้าพบลูกค้า 
4.เตรียมบุคลิกภาพให้พร้อม
5.อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเตรียมตัวเข้าพบ
6.เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
        ประโยชน์ของการเตรียมตัวก่อนเข้าพบ  มีดังนี้
-  เป็นการยืนยันเพิ่มเติมว่าลูกค้าที่เข้าพบมีคุณสมบัติเพียงพอ
-  มีข้อมูลสำหรับกลยุทธ์การเข้าพบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
-  มีข้อมูลสำหรับกำหนดหัวข้อสนทนา
-  สามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
-  ทราบข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ทำให้พนักงานขายเกิดความเชื่อมั่น
- สะท้อนให้เห็นว่าพนักงานขายมีการเตรียมการล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี
       สิ่งจำเป็นที่จะต้องเตรียมเมื่อเข้าพบลูกค้า
-  การนัดหมายเรื่องเวลากับลูกค้า
-  การแต่งกายและการดูแลด้านบุคลิกภาพ
-  การใช้วาจาสุภาพ  ไพเราะ  เรียบร้อย  และให้เกียรติลูกค้า
-  ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
-  แคตตาล็อก
-  สมุดบันทึก 
      3.การเข้าพบ (Approaching) 
       เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นขั้นตอนที่พนักงานขายได้ เผชิญหน้ากับลูกค้า  เป็นช่วงเวลาที่กระตุ้นหรือจูงใจให้ลูกค้าเกิดความสนใจประทับใจเป็นครั้งแรก
1.การเข้าพบด้วยการยกย่อง  การชมเชย เป็นวิธีการส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
2.การเข้าพบด้วยการแนะนำตนเอง เป็นวิธีการที่ใช้กันบ่อย ที่สุดในกลุ่มของพนักงานขาย
3.การเข้าพบโดยอ้างถึงบุคคล เพราะบางครั้งผู้ที่แนะนำไปอาจเป็นผู้ที่ลูกค้าเกรงใจ
4.การเข้าพบโดยใช้สินค้านำเสนอ  ส่วนมากเป็นสินค้าที่มีนำหนักเบา ราคาแพง
5.การเข้าพบด้วยการให้ของตอบแทน เช่นของขวัญ ของที่ระลึก
6.การเข้าพบด้วยการแสดงผลงาน เช่นการชนะเลิศการประกวด รางวัล
7.การเข้าพบด้วยการสร้างความอยากรู้อยากเห็น เป็นวิธีที่ทำให้ลูกค้าเกิดความสงสัย
8.การเข้าพบด้วยการสำรวจ พนักงานขายบริการจะเข้าพบด้วยการสำรวจเพื่อหาข้อบกพร่อง
      4.การเสนอขาย
            การเสนอขาย  หมายถึง  การสร้างความปรารถนาและความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าที่มุ่งหวัง  เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากการเข้าพบลูกค้า  วิธีที่นิยมกันมากที่สุด คือ การสาธิต        
     วัตถุประสงค์ของการเสนอขาย  มีดังนี้
 -  เพื่อชักจูงและโน้มน้าวให้เกิดความต้องการในสินค้าและบริการ
 - เพื่อชี้ให้ลูกค้าได้เห็นถึงความต้องการและความจำเป็นที่จะต้องซื้อสินค้า
  - เพื่อสร้างความเชื่อถือและศรัทธาให้กับลูกค้า
  - เพื่อช่วยให้ลูกค้าตกลงใจซื้อได้เร็วขึ้น
  - เพื่อเป็นการนำเสนอรูปแบบที่พิเศษไปจาก แบบอื่น ๆ
      เทคนิคของการเสนอขาย   ต้องยึดหลัก  4  ประการด้วยกันคือ
   - เทคนิคในการสร้างความเชื่อถือ ( Conviction )
   - เทคนิคการเสนอขายที่เข้าใจง่ายและชัดเจน ( Clarlity )
   - เทคนิคการเสนอขายที่สมบูรณ์ Completeness )
   - เทคนิคการขจัดคู่แข่งขัน ( Competition )
 รูปแบบของการเสนอขาย  คือ
   - ให้ข้อเสนอด้านรายได้
   - สร้างความเด่นชัดให้ลูกค้า
   - สร้างความอยากรู้อยากเห็น
   - การใช้ของกำนัล
               - การสาธิต
     5. การเผชิญข้อโต้แย้ง
          ข้อโต้แย้งทางการขาย  หมายถึง  พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ผู้คาดหวังได้แสดงออกมาในทางตรงกันข้ามกับความเห็นพ้องในการตัดสินใจที่จะซื้อ
           ลักษณะของข้อโต้แย้งทางการขายในรูปแบบต่าง ๆ จำแนกออกได้เป็น  3  ลักษณะด้วยกัน คือ
   - การโต้แย้งแบบจริงใจ
  -  การโต้แย้งแบบไม่จริงใจ
  -  อุปสรรคในการขาย
          สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งทางการขาย  มีดังนี้
 -  เกิดมาจากความต้องการ
 -  เกิดปัญหาด้านราคา
 -  เกิดจากตัวสินค้า
 -  เกิดจากตัวพนักงานขาย
 -  เกิดจากชื่อเสียงของบริษัท
 -  เกิดจากการผัดผ่อนของลูกค้า                                                                                                            การเตรียมตัวของพนักงานขายเพื่อขจัดข้อโต้แย้ง
 -  ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับการขาย
  - พร้อมที่จะรับฟังปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
  - พัฒนาความรู้และประสบการณ์ของตนเอง                
  - ไม่กลัวปัญหาและข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น                 
  - ต้องคาดคะเนล่วงหน้าก่อนไปพบลูกค้า

          เทคนิคในการตอบข้อโต้แย้ง  คือ
 - ป้องกันการเกิดขึ้นของข้อโต้แย้ง
  - วิธีการชดเชยข้อโต้แย้ง
  - วิธีการเปลี่ยนข้อโต้แย้งเป็นเหตุผลสนับสนุนการซื้อ
  - วิธีตั้งคำถาม
  - วิธีปฏิเสธทางอ้อม
  - วิธีปฏิเสธตรง ๆ
              - วิธีผ่านข้อโต้แย้งไป
      6. การปิดการขาย
          การปิดการขาย  หมายถึง  เทคนิควิธีที่นำมาใช้เพื่อให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า  หรือเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งอย่างใดออกมาให้พนักงานขายทราบ
          หลักการสำคัญของการปิดการขาย  คือ
-   การปิดการขายโดยให้ลูกค้าตัดสินใจเอง
-  การปิดการขายตั้งแต่ต้น
-  การปิดการขายทุกครั้งที่ถูกปฏิเสธ
-  การพยายามทดลองปิดการขายอยู่เสมอ
-  การปิดการขายโดยการยกย่องให้เกียรติลูกค้าเสมอ
          เทคนิคที่ใช้ในการปิดการขาย  มีดังนี้  คือ
 -  ถามถึงคำสั่งซื้อ
 -  ตั้งคำถามให้ลูกค้าตอบรับอย่างต่อเนื่อง
 -  ทึกทักเพื่อปิดการขาย
 -  ปิดการขายในจุดเล็ก ๆ
 -  เสนอโอกาสสุดท้าย
 - สรุปปิดการขาย
 - ป้องกันการปฏิเสธการซื้อ
- ปิดการขายจากข้อโต้แย้ง                                                                                                                       อุปสรรคของการปิดการขาย  คือ
 -  พนักงานขายกลัวความล้มเหลว
 -  พนักงานขายใช้การสื่อสารแบบทางเดียวกับลูกค้า
 -  พนักงานขายขาดการฝึกฝนที่ดีในการเสนอขาย
 -  การวางแผนการขายน้อยเกินไป
 -  การขายแบบแรงกดดันสูง
     7. การติดตามผลและการให้บริการ                                                                                                                     นักการขายสมัยใหม่ถือว่าหัวใจของการทำงานคือ การติดตามผลและการให้บริการ ซึ่งเป็นประการสำคัญในการสสร้างฐานหรือเครือข่ายของลูกค้า และเพิ่มยอดจำหน่ายให้แก่กิจการ หลังจากพนักงานขายได้ปดการขายแล้ว กระบวนการขายยังไม่สิ้นสุด พนักงานขายจะต้องมีการติดตามผล การติดตามที่ดีย่อมเป็นการสร้างการขายต่อไป เนื่องจากการติดตามผลเป็นวิธีการสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้แก่ ลูกค้า เทคนิคของการติดตามผลการขาย ได้แก่ การส่งมอบผลิตภัณฑ์ การตดต่อทางโทรศัพท์ การติดต่อทางไปรษณีย์ การแวะเยี่ยมเยียน การอวยพรในเทศกาลพิเศษ การร่วมงานสำคัญๆของลูกค้า และการสร้างข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม                                                                                      การบริการหลังการขาย คือการติดตามเอาใจใส่ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไปแล้ว โดยให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจและเต็มใจ เช่น การส่งมอบผลติภัณฑ์ การบริการตดตั้ง การบริการตรวจเช็คและแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ การบริการซ่อมแซม เป็นต้น ดังนั้น พนักงานขายที่ดีต้องมีจิตสำนึกของการเป็นผู้ให้ คอยเป็นผู้ประสานงาน รวมทั้งแจ้งข่าวสารต่างๆ หรือรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่ความพอใจและการซื้อซ้ำของลูกค้า

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น